เชื่อว่าหลายคนคงกำลังสับสนระหว่างกล้องไอพีและกล้องอนาล็อก วันนี้จะขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำว่ากล้องไอพีคืออะไร

EQUATOR CCTV กล้องวงจรปิด

เชื่อว่าหลายคนคงกำลังสับสนระหว่างกล้องไอพีและกล้องอนาล็อก วันนี้จะขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำว่ากล้องไอพีคืออะไร

สำหรับใครที่กำลังจะติดกล้อง หรือกำลังมองหากล้องวงจรปิด คงจะได้ยินคำว่ากล้องไอพีกันมาบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงกำลังสับสนระหว่างกล้องไอพีและกล้องอนาล็อก วันนี้จะขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำว่ากล้องไอพีคืออะไร

กล้องไอพี (IP Camera) คือ อะไร
กล้องไอพี – IP Camera ย่อมาจาก Internet Protocol Camera เป็นประเภทของกล้องวงจรปิดในยุคปัจจุบัน หลักการทำงานเหมือนกล้องวงจรปิดทั่วไปใช้สำหรับการบันทึกภาพเคลื่อนไหว แต่ที่แตกต่างจากกล้องวงจรปิด CCTV (Closed Circuit Television) แบบอะนาล็อก (Analog) คือ สามารถส่งและรับข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพสดได้จากทุกที่บนโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรมที่มาพร้อมกับกล้องไอพี (IP Camera) หรือดูภาพผ่านทางเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ส่วนฟังก์ชั่นในการใช้งานต่างๆ ของกล้องไอพี (IP Camera) จะเหมือนกับตัวกล้องอะนาล็อก(Analog Camera) แต่จะดีกว่าคือสามารถจะสั่งงานกับควบคุมและบันทึกภาพได้ภายในตัว ซึ่งไม่เหมือนกับกล้องอะนาล็อก (Analog) ที่ต้องต่อเข้ากับเครื่องบันทึกภาพ DVR (Digital Video Recorder) ถึงจะทำงานได้ และกล้องไอพี (IP Camera) นั้น สามารถจะรับและส่งข้อมูลภาพและเสียงได้พร้อมๆกัน แต่มีเฉพาะกับกล้องรุ่นใหม่ๆ ส่วนในระบบต่างๆ ที่สำคัญของกล้องไอพี (IP Camera) จะขอสรุปแบบที่ใช้งานกันส่วนใหญ่ดังนี้
กล้องไอพี (IP Camera) มี 2 ชนิด ดังนี้
1 กล้องไอพี (IP Camera) ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งกล้องจะเชื่อมต่อกับ NVR (Network Video Recorder – NVR) เพื่อส่งภาพมาบันทึก และจัดการการแจ้งเตือน (Alarm Management)
ชุดกล้องวงจรปิดพร้อมเครื่องบันทึก
2 กล้องไอพี (IP Camera) ชนิดแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized) คือไม่จำเป็นต้องมีเครื่องบันทึก NVR โดยกล้องจะบันทึกภาพโดยตรงไปยังสื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล เช่น การ์ดหน่วยความจำ (SD Card) แฟลชไดรฟ์ (Flash Drives) ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drives) หรือเครือข่ายเก็บข้อมูลแนส (Network-attached storage – NAS)
กล้องวงจรปิดระบบ IP Camera แบบ All-in-One
เทคโนโลยีของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
1 IP Technology (Internet Protocol Technology) โครงข่ายการสื่อสารข้อมูลและอินเตอร์เน็ต ที่สามารถส่งและรับข้อมูลภาพกับเสียง ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน
2 Hybrid IP Technology (Internet Protocol with Analog Technology) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องไอพี (IP Camera) กับกล้องแบบอะนาล็อก (Analog Camera) ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ คือ สามารถต่อใช้งานแบบกล้องไอพี (IP Camera) กับต่อใช้งานแบบกล้องอะนาล็อก (Analog Camera) ในระบบเดียวกัน แต่ยังคงคุณสมบัติในการทำงานไว้ได้เป็นอย่างดี เพราะหากระบบเครือข่ายมีปัญหาหรืออินเตอร์เน็ทใช้งานไม่ได้ ตัวกล้องก็ยังคงทำงานได้ในแบบอะนาล็อก (Analog) หรือในแบบอะนาล็อก (Analog) เกิดมีปัญหาก็สามารถจะทำงานได้ในแบบเครื่อข่าย
3 Full HD IP Technology (Full High Definition Internet Protocol Technology) เป็นกล้องไอพี (IP Camera) ที่มีความละเอียดสูง (Resolution) ระดับ Full HD 1080p (1920 x 1080 พิกเซล) สามารจะกำหนดอัตราเฟรมในการบันทึกได้เต็มที่ (Full Frame Rate) 30 เฟรมต่อวินาที (FPS : Frame Per Second) ซึ่งทำให้การแสดงภาพทั้งการดู และการบันทึก จะมีความคมชัดและละเอียดมาก
การบันทึกภาพของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
1. บันทึกภาพลง Local Storage เช่น SD Card หรือ Flash Memory ที่รองรับอยู่บนตัวกล้องไอพี (IP Camera)
2. บันทึกภาพผ่าน XNVR หรือ NVR หรือ CMS Software ที่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) แล้วบันทึกลง ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
เครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิดระบบ IP Camera จาก Panasonic
3. บันทึกภาพโดยต่อกับ Hybrid Digital Video Recorder เครื่องบันทึกภาพดิจิตอลที่รองรับทั้ง กล้องแบบอะนาล็อก (Analog Camera) และกล้องแบบไอพี (IP Camera) บันทึกลงฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ที่มีในเครื่อง
ระบบกลางวันและกลางคืน (Day & Night System)
เป็นระบบที่ในสภาวะปกติกล้องจะถ่ายภาพเป็นภาพสี แต่เมื่อในสภาพแสงน้องจนถึงค่าที่กำหนด กล้องจะปรับการทำงานให้เป็นโหมดขาวดำโดยอัตโนมัติ
ข้อดี คือ กล้องที่มีระบบ Day & Night ในสภาวะที่แสงน้อยจะไม่ได้ถูกจำกัดระยะในการจับภาพ และกล้องต้องการแสงสว่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้กล้องสามรถจับภาพได้
ข้อเสีย คือ ไม่สามรถจับภาพในที่ที่มึดสนิทได้ (ต้องใช้ระบบนี้กับตัวกล้องแบบอินฟราเรด IR)